วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้ของ คาร์ล โรเจอร์

การค้นคว้า เรื่องทฤษฎีการสอนมนุษยนิยมของ คาร์ โรเจอร์
วิชา การพัฒนาการสอน เสนอ ผศ.ดร.ทิพย์จุฑา สุภิมารส 
เรียบเรียงโดย นายทรงศักดิ์  บาอินทร์ รหัสประจำตัว 54054060114
สาขาหลักสูตรและการสอน รุ่นที่ 10 มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
บทนำ
          คาร์ล โรเจอร์ เป็นนักจิตวิทยามนุษยนิยม  ผู้ซึ้งเป็นบิดาของการแนะแนวแบบ Non-Directive เป็นผู้หนึ่งที่เห็นความจำเป็นที่จะให้ความสำคัญแก่ผู้เรียน ว่าเป้นบุคคลที่มีความโน้มเอียงตามธรรมชาติที่จะพัฒนาตนเองทุกๆ ด้านเพื่อจะรักษาหรือครองไว้ซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง และพัฒนาให้ดีขึ้น (Actualizing Tendency)


ประวัติของผู้กำเนิดทฤษฎี
  • คาร์ โรเจอร์ส เกิดเมื่อวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1902
  • เป็นบุตรชายคนที่ 4 มีพี่น้อง 6 คน
  • เกิดที่เมืองโอ็กปาร์ค (Ork Park) รัฐอิลินอยส์ (Illinois) ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • เขามาจากครอบครัวที่อบอุ่นมีความรักใคร่และใกล้ชิดกันระหว่างพ่อแม่พี่น้อง
ภูมิหลังด้านชีวิตครอบครัว
          บิดามารดาของเขาเป็นผู้ที่มี ความสนใจทางการศึกษามาก และเป็นคนที่เคร่งครัดทางศาสนาจึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของลูกๆ อย่างเต็มที่ พร้อมๆ กับการอบรมให้ลูกๆ ฝักใฝ่ในศาสนาด้วย และเนื่องจากบิดามารดา มี ความระมัดระวังไม่ให้ลูกๆ พบเห็น หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงปรารถนา จึงได้ย้ายครอบครัวไปอยู่ที่ฟาร์ม ทางทิศตะวันตกของชิคาโก ทำให้โรเจอร์ส ได้ใช้ชีวิตวัยรุ่นในชนบท ที่ถือว่าเป็นช่วงชีวิตที่เต็มไปด้วย ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัย จากครอบครัว เขาชอบอ่านหนังสือมากและอ่านหนังสือทุกประเภท และมีผลการเรียนดีเด่นเสมอมา

ภูมิหลังด้านการศึกษา
  • ในระดับปริญญาตรี ในสาขาประวัติศาสตร์ 
  • ปริญญาโทในสาขาศาสนาและจิตวิทยา 
  • ปริญญาเอกในสาขา ทางด้านจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัย โคลัมเบีย (Columbis University) 
ภูมิหลังด้านการทำงาน
  • ค.ศ. 1940 –1945 โรเจอร์ส ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ทางด้านจิตวิทยา และสอนหนังสือที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอ (Ohio State University)
  • ค.ศ.1945 – 1957 ได้ย้ายไปสอน ณ มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago) และในช่วงเวลาดังกล่าว โรเจอร์ได้ผลิตผลงานต่างๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการให้คำปรึกษาเน้นบุคคลเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Counseling) 
  • ค.ศ. 1957 – 1963 ได้ย้ายไปสอน ณ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (University of Wisconsin) จากนั้น ได้ย้ายไปทำงานที่ศูนย์การศึกษาระดับสูงทางด้านทางพฤติกรรมศาสตร์ ที่แสตนฟอร์ด (Standford) 
  • ค.ศ. 1963 ได้ย้ายไป ทำงานศูนย์การศึกษาเกี่ยวกับบุคคล (Center for Studies of the Person) ที่แคลิฟอร์เนีย ซึ่งเขาได้นำหลักการทางจิตวิทยา มาใช้เพื่อพัฒนาบุคคล ในวงการต่าง เช่น แพทย์การศึกษา อุตสาหกรรม รวมทั้งประชาชนโดยทั่วไป ให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพที่สมบูรณ์ เขาได้ใช้ชีวิตที่นั่นจนเสียชีวิตเมื่อ ปี ค.ศ. 1986
หลักการของ โรเจอร์ ในหนังสือ Freedom to Learn

   1. โดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเรียนรู้
   2. การเรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้เรียนรับรู้ว่าวิชาที่เรียนมีความหมาย และมีจุดมุ่งหมายสัมพันธ์ กับจุดมุ่งหมายในชีวิต ของผู้เรียน
   3. ผู้เรียนจะต่อต้านการเรียนรู้ที่ผู้เรียนรู้สึกว่าเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนความรู้สึกของผู้เรียน
   4. ในกรณีที่การกระทบเืทือนจากภายนอกลดลง จะทำให้ผู้เรียนยอมรับการเรียนรู้ได้บ้าง
   5. ผู้เรียนจะยอมรับรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ และเริ่มเรียนรู้ หากการขู่เข็ญจากภายนอกลดลง
   6. การเรียนรู้ที่สำคัญจะเกิดจากตัวผู้เรียนเอง (Learning By Doing)
   7. ถ้านักเรียนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในกระบวนการเรียนรู้ จะทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนมากขึ้น
   8. ถ้านักเรียนเป็นผู้ริเริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเอง จะทำให้นักเรียนอยากเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา
   9. การที่ให้ผู้เรียนประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง จะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
   10. การเรียนรู้จะมีประโยชน์มากที่สุด ต่อการมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ (Process of Learning) หรืออาจกล่าวแบบสรุปได้ว่า เรียนรู้ได้อย่างไร

หน้าที่ของครูสำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดของโรเจอร์
          ครูจะต้องเป็นผู้ช่วยให้นักเรียนได้พัฒนาอย่างเต็มที่ตามศักยภาพของตน โดยการจัดบรรยยากาศในห้องเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งสิบประการข้างต้นของ โรเจอร์

          โรเจอร์สได้ชื่อว่า เป็นนักจิตวิทยามานุษยนิยมที่สำคัญ และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายอีกท่านหนึ่ง เขาได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้ที่ยกระดับวิชาชีพจิตวิทยาให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือจากมหาชน โดยพิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ว่า นักจิตวิทยาที่รู้จริง ปฏิบัติจริง ย่อมเป็นผู้ที่มี ความสุข และ ความสำเร็จในชีวิต ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะช่วยเหลือผู้ที่มี ความทุกข์ร้อนทางด้านจิตใจ และมีปัญหาทางบุคลิกภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ได้เคยรู้จักกับโรเจอร์ส ต่างก็ยกย่องว่า โรเจอร์สว่า เขาเป็นผู้ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมไปด้วย ความรัก ความเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์ทุกคนอย่างบริสุทธิ์ใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับบุคคลที่ตกอยู่ในห้วงแห่ง ความทุกข์โศก ความสับสนและ ความเดือดเนื้อร้อนใจ ไม่ว่าเด็กและผู้ใหญ่ แม้เพียงได้อยู่ใกล้ๆ ก็ทำให้เขาเหล่านั้น มี ความสบายใจและอบอุ่นใจได้เสมอ ทั้งนี้ เพราะเห็นพลัง ความรักและ ความปรารถนาที่มีต่อเพื่อนมนุษย์และ ความเชื่อของเขาที่มีอยู่ในจิตสำนึกว่า ความทุกข์ของมนุษย์ย่อมมีหนทางแก้ไขได้เสมอ

อ้างอิง
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2553). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.novabizz.com/NovaAce/Personality/Theory_Roger.htm

เกี่ยวกับผู้เขียน
เว็บไซต์คุณครูทรงศักดิ์ บาอินทร์
เว็บไซต์กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย